วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก

การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก


โดย
        นายปิยวัชร             คณฑา           เลขที่7
        นางสาวณัฐวรรณ      เหล่าแช่ม       เลขที่18
        นางสาวธัญญ์พิศา ใจเงินปภาสิน       เลขที่29
        นางสาวณัฐพร    กันฑียะ               เลขที่40
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 2


เสนอ
ครูชมภูนุช กิจแก้ว


รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ(IS2) I30204
ภาคเรียนที 2 ปีการศึกษา 2558

โรงเรียนบ้านไร่วิทยา

คำนำ

คำนำ

ถั่วงอกเป็นสิ่งที่คนในปัจจุบันนิยมรับประทาน เนื่องจากถั่วงอกนั้นมีประโยชน์ช่วยในการย่อยอาหาร ถั่วงอกย่อยอาหารได้ง่าย และช่วยในการชะลอความแก่ ทางตลาดจึงมีความต้องการถั่วงอกค่อนข้างสูงจึงทำให้ผู้ผลิตนิยมเลือกใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ ถั่วงอกที่สด สะอาด และสวย

ผู้เขียนตระหนักถึงในผลกระทบที่จะตามมาในการรับประทานถั่วงอกที่ใช้สารเคมี จึงได้รับรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของถั่วงอก นำเสนอรายงาน เพื่อให้ผู้อ่านได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น ความเป็นของถั่วงอก วิธีการเพาะปลูกถั่งอก โทษและประโยชน์ของถั่วงอก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้บ้างตามสมควร

ขอขอบคุณคุณครูชมพูนุช  กิจแก้ว ที่กรุณาให้ทำแนะนำในการจัดทำรายงานจนสำเร็จลุล่วงได้ดี


คณะผู้จัดทำ

15 กุมภาพันธ์ 2559

บทที่ 1


บทที่ 1
บทนำ
แนวคิดที่และความสำคัญ
          ถั่วงอกเป็นผลิตผลจากธัญพืช ถั่วเขียว ใช้เวลาเพาะและโตเต็มที่แค่เพียง 2-3 วัน ก็สามารถนำไปขายได้ ซึ่งปัจจุบันคนไทยนิยมบริโภคถั่วงอกกันมากจากความต้องการของตลาดที่มีค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ผลิตมีการใช้สารเคมีจำพวก สารเร่ง สารอ้วนสารฟอกขาว (โซเดียม ไฮโดรซัลไฟต์) สารคงความสด (ฟอร์มาลีน) ซึ่งสารเหล่านี้ กระทรวงสาธารณสุข ไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร เพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษ ต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไป อาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาท และอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
          ถั่วงอก สามารถนำมาประกอบอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ดี บางคนก็ได้เพราะปลูกถั่วงอกเป็นอาชีพหลัก ปัจจุบันการเพาะปลูกถั่วงอกได้มีการพัฒนา วิธีการทำให้ได้ถั่วงอกที่ดี  มีคุณภาพสะอาด ปราศจากสารเจือปน มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น แต่บางครั้งมีการใช้สารเพื่อให้ถั่วงอกสดอยู่ได้นานเมื่อเก็บเกี่ยว แล้วทำให้เกิดอันตราย สำหรับผู้บริโภคที่ได้ซื้อไปรับประทาน และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย และสามารถนำไป สร้างผลผลิตสินค้าส่งออกสู่เมืองต่างๆได้
          ดังนั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2 โรงเรียนบ้านไร่วิทยา ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี จัดทำรายงานเชิงวิชาการ ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษา การเพาะปลูกและสรรพคุณจองถั่วงอกเพื่อส่งออก ศึกษาเพื่อไปนำเผยแพร่ความรู้ให้กับชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์
         
รายงานเรื่อง การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก
 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า  ดังนี้
          1.เพื่อศึกษาวิธีการเพาะปลูกถั่วงอกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก
          2.เพื่อศึกษาสรรพคุณทางยาและประโยชน์หรือโทษของถั่วงอก
          3.เพื่อให้เกิดทักษะการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
          รายงานเรื่อง  การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก 
ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่วันที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558  ถึงวันที่ 15 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559  สถานที่ดำเนินการได้แก่ โรงเรียนบ้านไร่วิทยา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          1.เพื่อศึกษาวิธีการเพาะปลูกถั่วงอกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก
          2.เพื่อศึกษาสรรพคุณทางยาและประโยชน์หรือโทษของถั่วงอก

          3.เพื่อให้เกิดทักษะการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

บทที่ 2

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
          รายงานเรื่อง การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก  ผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.      ความหมายและความสำคัญของถั่วงอก
2.      ประโยชน์ของถั่วงอก
3.      โทษของถั่วงอก
4.      วิธีการเพาะปลูก
ความหมายและความสำคัญของถั่วงอก  
          ถั่วงอก คือ ผักชนิดหนึ่งซึ่งเป็นผักที่ยังเป็นต้นอ่อนที่เพิ่งโผล่พ้นเมล็ดโดยอาศัยธาตุอาหารต่าง ๆ ที่ถูกสะสมไว้ในเมล็ดเพื่อที่จะเติบโตเป็นต้นถั่ว แต่เมื่อนำเมล็ดถั่วมาเพาะในสภาพที่เหมาะสมโดยไม่ให้โดนแสงแดด ใบเลี้ยงกับรากของต้นถั่วจึงยังไม่โผล่เป็นต้นกล้ายังเป็นแค่หน่ออ่อนของถั่ว เราจึงเรียกว่า ถั่วงอก ถั่วงอกเป็นผักที่ให้คุณค่าทางอาหารหลายอย่างทั้งโปรตีน เกลือแร่และวิตามิน จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของถั่วงอก
ประโยชน์ของถั่วงอก
          ถั่วงอก เป็นพืชผักที่มีบทบาทในอาหารประจำวันของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน จึงพบเห็นถั่วงอกมีขายในตลาดสดเคียงคู่กับผักชนิดอื่นตลอดเวลาและถั่วงอกใช้ปรุงอาหารได้หลากหลายชนิดจะเห็นได้ว่าถั่วงอกเป็นทั้งองค์ประกอบหลักในการปรุงอาหารและเป็นองค์ประกอบรองในการปรุงอาหารโดยใช้เป็นเครื่องเคียงในอาหารต่างๆ ในอาหารบางชนิดจะขาดถั่วงอกไม่ได้ ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากถั่วงอกในการประกอบอาหารจึงมีมากมาย ถั่วงอกเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี วิตามินซีสูง และยังบำรุงสมองให้แข็งแรง ความเป็นมาของถั่วงอกถั่วงอกนั้นถือได้ว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมอาหารของเอเชีย ประเทศแรกที่เพาะถั่วงอกหัว โตกินก็คือจีน มีหลักฐานแสดงว่าจีนกินถั่วงอกมา2,930 ปีก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะกะลาสีเรือจะเพาะถั่วงอกกิน ในเรือเพื่อป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นที่รู้กันว่าถั่วเหลืองงอกมีวิตามินซีส่วนถั่วเหลืองดิบและเต้าหู้ที่ ผลิตจากถั่วเหลืองหามีวิตามินซีไม่ ประโยชน์ทางยาถั่วงอกเป็นแหล่งวิตามินซีการแพทย์จีนนำไปต้มกินช่วยขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่ง และขับปัสสาวะ และถั่วงอกเป็นอาหารที่ย่อยง่ายมากๆ เมื่อเรารับประทานจึงเท่ากับช่วยประหยัดการทำงานให้กับระบบย่อยอาหาร ลดของเสียและสิ่งตกค้าง(toxin)ในร่างกาย เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ร่างกายจึงเสื่อมช้า ไม่แก่ เร็ว
โทษของถั่วงอก
          ถั่วงอกดิบมี ไฟเตต (Phytate) สูง ซึ่งไฟเตตมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมของแร่ธาตุบางชนิดเช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และฟอสฟอรัส เอาไว้ หากกินมาก ๆ ร่างกายเราจะขาดแร่ธาตุเหล่านี้  มีสารฟอกขาว ซึ่งเป็นสารเคมีในกลุ่มซัลไฟต์ เช่น โซเดียมซัลไฟต์ มาผสมน้ำแช่ถั่วงอกเพื่อให้ถั่วงอกขาว น่ากิน อันนี้สามารถนำมาใช้ได้ในปริมาณที่กฏหมายกำหนด(แต่เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงครับ) ที่อันตรายมากๆ คือถ้าใช้ โซเดียม ไฮโดรซัลไฟต์ ซึ่งเป็นสารฟอกขาวอย่างแรงที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร เจ้าสารนี้จะทำให้ทำให้ ท้องเสีย อาเจียน หายใจขัด อาจถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าการผลิตและการวางจำหน่ายไม่สะอาด อาจเกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น Salmonella และ E coli 
วิธีการเพาะถั่วงอก
          ขั้นตอนการเพาะ มีหลักการพื้นฐานของการเพาะถั่วงอกที่ต้องเข้าใจ 6 ประการด้วยกัน เรียกว่าเมื่อทราบหลักพื้นฐาน 6 ข้อนี้แล้ว จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไรก็สุดแท้แต่แต่ละคนจะสร้างสรรค์กันได้เลยทีเดียว เจ้าหลักที่ว่านั้นมีดังนี้
          1.    เมล็ดถั่วโดยทั่วไปจะนิยมใช้ถั่วเขียว จะเลือกใช้แบบผิวมันที่เปลือกสีเขียว หรือแบบผิวดำก็ได้แต่ควรเลือกเมล็ดใหม่ สะอาด เพราะจะงอกดีกว่า สิ่งสำคัญคือต้องนำเมล็ดไปแช่ในน้ำอุ่นก่อนนานประมาณ 6-8 ชั่วโมง เพื่อฆ่าเชื้อโรค และช่วยกระตุ้นให้ถั่วงอกได้ดีขึ้น
          2.    ภาชนะ ควรเป็นภาชนะที่มีสีทึบ หรือมีฝาปิด และควรมีรูระบายน้ำทั้งด้านล่าง และด้านข้างที่สำคัญต้องเป็นภาชนะที่สะอาด
          3.    น้ำ น้ำที่ใช้รดจะต้องเป็นน้ำสะอาด และต้องได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ เพื่อให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นการช่วยระบายความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการงอกด้วย หากรดน้ำมากไปจะทำให้ถั่วเน่า แต่หากรดน้ำน้อยไปถั่วจะรากยาวแตกฝอย
          4.   วัสดุเพาะหากเป็นไปได้ก็อาจใช้วัสดุเพาะ อย่างฟองน้ำ กระสอบ เพื่อช่วยเก็บความชื้น
          5.  ภูมิอากาศ ความเพาะในที่แห้ง ระบายอากาศดี  ถ้าในฤดูฝน ความชื้นในอากาศสูง
          6.  แสงสว่าง แสงสว่างจะทำให้ถั่วมีสีเขียว ลำต้นผอมยาว ดังนั้นภาชนะควรทึบแสง หรือควรตั้งภาชนะไว้ในที่มืด

เพาะถั่วงอกในขวดกาแฟ
อุปกรณ์ที่ใช้คือ
          1. ขวดกาแฟจะชนิดใสหรือชนิดสีชาก็ได้
          2. ผ้าไนลอนหรือผ้าขาวบาง กว้าง 4 นิ้ว ยาว 5 นิ้ว  
          3. ถั่วเขียว 1 กำมือ
ขั้นตอนการทำ
          1. ล้างถั่วเขียวด้วยน้ำสะอาด แช่ในน้ำอุ่น และแช่น้ำนั้นทิ้งต่อไปอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
          2.  เทถั่วเขียวใส่ขวดกาแฟ ใช้ผ้าไนลอนหรือผ้าขาวบางปิดปากขวด ใช้หนังยางรัดให้แน่น เปิดน้ำใส่ขวดให้ท่วมเมล็ดถั่ว แล้วเทน้ำทิ้ง
          3. วางขวดในแนวนอน เก็บไว้ในที่มืด หรือใส่ไว้ในถุงกระดาษทึบ
          4. เปิดน้ำใส่ขวด และเทน้ำทิ้งเหมือนเดิมอีกทุกๆ 3-4 ชั่วโมง แล้วเก็บไว้ในที่มืดตามเดิม
          5. อดใจรอประมาณ 3 วัน ก็สามารถนำถั่วงอกไปกินได้

เพาะถั่วงอกในถังพลาสติกแบบตัดราก
อุปกรณ์
          1.  ถั่วพลาสติกสีดำ เจาะรูที่ก้นถังหลายๆรู เพื่อระบายน้ำ และเจาะรูที่ด้านข้าง เป็นระยะๆ เพื่อระบายอากาศ         
          2.  กระสอบป่านตัดเป็นวงกลมขนาดเท่าปากถัง 4 ชิ้น
          3.  ตะแกรงไนล่อนตาถี่รูขนาดเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียว ตัดเป็นวงกลมขนาดเท่าปากถัง 3 แผ่น
          4.  ถั่วเขียว ½ กิโลกรัม ต่อการเพาะ 1 ถัง
วิธีทำ
          1.  แช่เมล็ดถั่วเขียวในน้ำอุ่น และแช่ทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมง คัดเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้งไป
          2. นำกระสอบวางลงไปในถัง และวางตะแกรงไนล่อนทับ
          3. โรยเมล็ดถั่วลงไปบนตะแกรงไนล่อน เกลี่ยให้กระจายทั่วแผ่น ให้เมล็ดถั่วซ้อนกันประมาณ 3-4 เมล็ด อย่าให้แน่นมากจนเกินไปกว่านี้
          4. นำผ้ากระสอบมาวางทับเมล็ดถั่วเขียวชั้นที่ 1 แล้วนำตะแกรงไนล่อนวางทับผ้ากระสอบ โรยถั่วลงไป ทำให้ครบ 3 ชั้น แล้วปิดด้านบนด้วยผ้ากระสอบอีกครั้ง
          5. รดน้ำให้ชุ่มทุก 3 ชั่วโมง โดยรดน้ำจนน้ำไหลออกมาที่บริเวณก้นถัง เพื่อเป็นการช่วยระบายความร้อน นำไปไว้ในที่ร่ม
          6.  รอประมาณ 3 วัน ก็สามารถหยิบถั่วงอกแต่ละชั้นขึ้นมา ปาดที่โคนต้นถั่วงอกซึ่งอยู่ติดกับตะแกรงไนล่อน ก็จะได้ถั่วงอกไร้รากไปกินแล้วค่ะ ขอบอกว่าใช้ถั่วแค่ ½ กิโลกรัม แต่จะได้ถั่วงอกถึง 2-3 กิโลกรัม



บทที่ 3

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ
          รายงานเรื่อง การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก  ผู้จัดทำมีวิธีดำเนินการศึกษาค้าคว้า ดังนี้
วิธีการดำเนินการ
          รายงานเรื่อง การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก
 มีวิธีดำเนินการศึกษาค้าคว้า ดังนี้
1.      กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
2.      แบ่งหน้าที่ในศึกษาค้นหว้าข้อมูล และหน้าที่ในการดำเนินการ
3.      กำหนดวัตถุประสงค์ สมมุติฐาน ที่มาและความสำคัญต่างๆ
4.      รวบรวมข้อมูลที่จะศึกษาทั้งหมด
5.      นำข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมดมาเรียบเรียงข้อมูล
6.      จัดทำเป็นโครงร่างเพื่อนำเสนออาจารย์
7.      จัดทำรูปเล่ม

8.      นำเสนอ เผยแพร่ให้แก่ชุมชน และจัดทำสื่อเว็บบล็อกเพื่อเผยแพร่

บทที่ 4

บทที่ 4
ผลการดำเนินการ
        รายงานเรื่อง การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก มีผลดำเนินงานดังนี้
ผลการดำเนินงาน
          จากการศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก ผู้จัดทำได้รับ
องค์ความรู้ต่างๆดังนี้
          ถั่วงอกมีทั้งประโยชน์และโทษ จากการที่คณะผู้จัดทำศึกษาในการปลูกถั่วงอกทั่วไป โดยวิธีการเพาะปลูกถั่วงอกนั้นจะต้องคำนึงถึงชนิดของเมล็ด โดยทั่วไปจะนิยมเลือกใช้แบบผิวมันที่เปลือกสีเขียว หรือแบบผิวดำก็ได้แต่ควรเลือกเมล็ดใหม่ สะอาด เพราะจะงอกดีกว่า ภาชนะที่ใส่ก็ควรเป็นภาชนะที่มีสีทึบ หรือมีฝาปิด ควรมีรูระบายน้ำทั้งด้านล่าง และด้านข้างที่สำคัญต้องเป็นภาชนะที่สะอาด ที่ใช้รดจะต้องเป็นน้ำสะอาด และต้องได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ เพื่อให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์  วัสดุเพาะหากเป็นไปได้ก็อาจใช้วัสดุเพาะอย่างฟองน้ำ กระสอบ เพื่อช่วยเก็บความชื้น  ภูมิอากาศ ความเพาะในที่แห้ง ระบายอากาศดี ถ้าในฤดูฝน ความชื้นในอากาศสูง และแสงสว่าง แสงสว่างจะทำให้ถั่วมีสีเขียว ลำต้นผอมยาว ดังนั้นภาชนะควรทึบแสง หรือควรตั้งภาชนะไว้ในที่มืด ถั่วงอกมีประโยชน์  ซึ่งปัจจุบันคนไทยนิยมบริโภคถั่วงอกกันมาก จากความต้องการของตลาดที่มีค่อนข้างสูงทำให้ผู้ผลิต มีการใช้สารเคมีจำพวก สารเร่ง สารอ้วน สารฟอกขาว (โซเดียม ไฮโดรซัลไฟต์) สารคงความสด(ฟอร์มาลีน) ซึ่งสารเหล่านี้ กระทรวงสาธารณสุข  ไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร เพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษ ต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไป อาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาท และอาจจะทำให้เสียชีวิตได้


บทที่ 5

บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
          รายงานเรื่อง การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก สามารถสรุปผลและอภิปรายผลการดำเนินการ  ดังนี้
สรุปผล
          การจัดทำรายงานเรื่อง การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก สามารถสรุปได้ดังนี้
          จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะปลูก สรรพคุณ และโทษของถั่วงอก คณะผู้จัดทำได้สรุปการศึกษาได้ดังนี้
          “ถั่วงอก”  เป็นผลผลิตจากธัญพืชถั่วเขียว”  ใช้เวลาเพาะและโตเต็มที่แค่เพียง 2-3 วัน ก็สามารถนำไปขายได้  ซึ่งปัจจุบันคนไทยนิยมบริโภคถั่วงอกกันมาก  จากความต้องการของตลาดที่มีค่อนข้างสูงทำให้ผู้ผลิต  มีการใช้สารเคมีจำพวก  สารเร่ง  สารอ้วน สารฟอกขาว(โซเดียม ไฮโดรซัลไฟต์)  สารคงความสด(ฟอร์มาลีน)  ซึ่งสารเหล่านี้  กระทรวงสาธารณสุข  ไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร  เพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษ ต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไป อาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาท และอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
         
อภิปรายผล
          การจัดทำรายงานเรื่อง การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
          จากการศึกษาค้นคว้า ถั่วงอกเป็นผลผลิตจากธัญพืช ใช้เวลาเพาะและโตเต็มที่แค่เพียง 2-3วัน ก็สามารถนำไปขายได้  ทางตลาดมีความต้องการถั่วงอกค่อนสูง จึงทำให้มีการใช้สารเคมีจำพวก สารเร่ง สารอ้วน สารฟอกขาว สารคงความสด ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารที่มีพิษ ต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไป อาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร  ระบบหายใจ ระบบประสาท  อาจจะทำให้เสียชีวิตได้  และถั่วงอกก็ยังมีประโยชน์ช่วยในการป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นที่รู้กันว่าถั่วเหลืองงอกมีวิตามินซีส่วนถั่วเหลืองดิบและเต้าหู้ที่ ผลิตจากถั่วเหลืองหามีวิตามินซีไม่ ประโยชน์ทางยาถั่วงอกเป็นแหล่งวิตามินซีการแพทย์จีนนำไปต้มกินช่วยขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่ง และขับปัสสาวะ และถั่วงอกเป็นอาหารที่ย่อยง่ายมากๆ เมื่อเรารับประทานจึงเท่ากับช่วยประหยัดการทำงานให้กับระบบย่อยอาหาร ลดของเสียและสิ่งตกค้าง(toxin)ในร่างกาย เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ร่างกายจึงเสื่อมช้า ไม่แก่ เร็ว

ข้อเสนอแนะ
          การจัดทำรายเรื่อง การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก มีข้อเสนอแนะดังนี้

          ถั่วงอกสามารถปลูกได้ง่าย ใช้เวลาปลูกเพียง 2-3วัน ก็สามารถนำมารับประทานหรือไปขายได้แต่ในตลาดมีความต้องการค่อนสูง ผู้ผลิตทั่วไปจึงนิยมเลือกใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ถั่วงอกที่สด และสวยงาม ควรมีการศึกษาในแบบใหม่ๆ เพื่อให้ได้ถั่วงอกที่มีความสดสะอาด สวยงาม และปลอดภัยจากสารเคมี เพื่อให้คนที่รับประทานถั่วงอกไม่ได้รับสารเคมีเพราะสารเคมีนั้นอาจจะทำให้เสียชีวิตได้