บทที่2

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
          รายงานเรื่อง การศึกษาการเพาะปลูกและสรรพคุณของถั่วงอกเพื่อส่งออก  ผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.      ความหมายและความสำคัญของถั่วงอก
2.      ประโยชน์ของถั่วงอก
3.      โทษของถั่วงอก
4.      วิธีการเพาะปลูก
ความหมายและความสำคัญของถั่วงอก  
          ถั่วงอก คือ ผักชนิดหนึ่งซึ่งเป็นผักที่ยังเป็นต้นอ่อนที่เพิ่งโผล่พ้นเมล็ดโดยอาศัยธาตุอาหารต่าง ๆ ที่ถูกสะสมไว้ในเมล็ดเพื่อที่จะเติบโตเป็นต้นถั่ว แต่เมื่อนำเมล็ดถั่วมาเพาะในสภาพที่เหมาะสมโดยไม่ให้โดนแสงแดด ใบเลี้ยงกับรากของต้นถั่วจึงยังไม่โผล่เป็นต้นกล้ายังเป็นแค่หน่ออ่อนของถั่ว เราจึงเรียกว่า ถั่วงอก ถั่วงอกเป็นผักที่ให้คุณค่าทางอาหารหลายอย่างทั้งโปรตีน เกลือแร่และวิตามิน จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของถั่วงอก
ประโยชน์ของถั่วงอก
          ถั่วงอก เป็นพืชผักที่มีบทบาทในอาหารประจำวันของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน จึงพบเห็นถั่วงอกมีขายในตลาดสดเคียงคู่กับผักชนิดอื่นตลอดเวลาและถั่วงอกใช้ปรุงอาหารได้หลากหลายชนิดจะเห็นได้ว่าถั่วงอกเป็นทั้งองค์ประกอบหลักในการปรุงอาหารและเป็นองค์ประกอบรองในการปรุงอาหารโดยใช้เป็นเครื่องเคียงในอาหารต่างๆ ในอาหารบางชนิดจะขาดถั่วงอกไม่ได้ ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากถั่วงอกในการประกอบอาหารจึงมีมากมาย ถั่วงอกเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี วิตามินซีสูง และยังบำรุงสมองให้แข็งแรง ความเป็นมาของถั่วงอกถั่วงอกนั้นถือได้ว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมอาหารของเอเชีย ประเทศแรกที่เพาะถั่วงอกหัว โตกินก็คือจีน มีหลักฐานแสดงว่าจีนกินถั่วงอกมา2,930 ปีก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะกะลาสีเรือจะเพาะถั่วงอกกิน ในเรือเพื่อป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นที่รู้กันว่าถั่วเหลืองงอกมีวิตามินซีส่วนถั่วเหลืองดิบและเต้าหู้ที่ ผลิตจากถั่วเหลืองหามีวิตามินซีไม่ ประโยชน์ทางยาถั่วงอกเป็นแหล่งวิตามินซีการแพทย์จีนนำไปต้มกินช่วยขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่ง และขับปัสสาวะ และถั่วงอกเป็นอาหารที่ย่อยง่ายมากๆ เมื่อเรารับประทานจึงเท่ากับช่วยประหยัดการทำงานให้กับระบบย่อยอาหาร ลดของเสียและสิ่งตกค้าง(toxin)ในร่างกาย เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ร่างกายจึงเสื่อมช้า ไม่แก่ เร็ว
โทษของถั่วงอก
          ถั่วงอกดิบมี ไฟเตต (Phytate) สูง ซึ่งไฟเตตมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมของแร่ธาตุบางชนิดเช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และฟอสฟอรัส เอาไว้ หากกินมาก ๆ ร่างกายเราจะขาดแร่ธาตุเหล่านี้  มีสารฟอกขาว ซึ่งเป็นสารเคมีในกลุ่มซัลไฟต์ เช่น โซเดียมซัลไฟต์ มาผสมน้ำแช่ถั่วงอกเพื่อให้ถั่วงอกขาว น่ากิน อันนี้สามารถนำมาใช้ได้ในปริมาณที่กฏหมายกำหนด(แต่เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงครับ) ที่อันตรายมากๆ คือถ้าใช้ โซเดียม ไฮโดรซัลไฟต์ ซึ่งเป็นสารฟอกขาวอย่างแรงที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร เจ้าสารนี้จะทำให้ทำให้ ท้องเสีย อาเจียน หายใจขัด อาจถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าการผลิตและการวางจำหน่ายไม่สะอาด อาจเกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น Salmonella และ E coli 
วิธีการเพาะถั่วงอก
          ขั้นตอนการเพาะ มีหลักการพื้นฐานของการเพาะถั่วงอกที่ต้องเข้าใจ 6 ประการด้วยกัน เรียกว่าเมื่อทราบหลักพื้นฐาน 6 ข้อนี้แล้ว จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไรก็สุดแท้แต่แต่ละคนจะสร้างสรรค์กันได้เลยทีเดียว เจ้าหลักที่ว่านั้นมีดังนี้
          1.    เมล็ดถั่วโดยทั่วไปจะนิยมใช้ถั่วเขียว จะเลือกใช้แบบผิวมันที่เปลือกสีเขียว หรือแบบผิวดำก็ได้แต่ควรเลือกเมล็ดใหม่ สะอาด เพราะจะงอกดีกว่า สิ่งสำคัญคือต้องนำเมล็ดไปแช่ในน้ำอุ่นก่อนนานประมาณ 6-8 ชั่วโมง เพื่อฆ่าเชื้อโรค และช่วยกระตุ้นให้ถั่วงอกได้ดีขึ้น
          2.    ภาชนะ ควรเป็นภาชนะที่มีสีทึบ หรือมีฝาปิด และควรมีรูระบายน้ำทั้งด้านล่าง และด้านข้างที่สำคัญต้องเป็นภาชนะที่สะอาด
          3.    น้ำ น้ำที่ใช้รดจะต้องเป็นน้ำสะอาด และต้องได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ เพื่อให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นการช่วยระบายความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการงอกด้วย หากรดน้ำมากไปจะทำให้ถั่วเน่า แต่หากรดน้ำน้อยไปถั่วจะรากยาวแตกฝอย
          4.   วัสดุเพาะหากเป็นไปได้ก็อาจใช้วัสดุเพาะ อย่างฟองน้ำ กระสอบ เพื่อช่วยเก็บความชื้น
          5.  ภูมิอากาศ ความเพาะในที่แห้ง ระบายอากาศดี  ถ้าในฤดูฝน ความชื้นในอากาศสูง
          6.  แสงสว่าง แสงสว่างจะทำให้ถั่วมีสีเขียว ลำต้นผอมยาว ดังนั้นภาชนะควรทึบแสง หรือควรตั้งภาชนะไว้ในที่มืด

เพาะถั่วงอกในขวดกาแฟ
อุปกรณ์ที่ใช้คือ
          1. ขวดกาแฟจะชนิดใสหรือชนิดสีชาก็ได้
          2. ผ้าไนลอนหรือผ้าขาวบาง กว้าง 4 นิ้ว ยาว 5 นิ้ว  
          3. ถั่วเขียว 1 กำมือ
ขั้นตอนการทำ
          1. ล้างถั่วเขียวด้วยน้ำสะอาด แช่ในน้ำอุ่น และแช่น้ำนั้นทิ้งต่อไปอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
          2.  เทถั่วเขียวใส่ขวดกาแฟ ใช้ผ้าไนลอนหรือผ้าขาวบางปิดปากขวด ใช้หนังยางรัดให้แน่น เปิดน้ำใส่ขวดให้ท่วมเมล็ดถั่ว แล้วเทน้ำทิ้ง
          3. วางขวดในแนวนอน เก็บไว้ในที่มืด หรือใส่ไว้ในถุงกระดาษทึบ
          4. เปิดน้ำใส่ขวด และเทน้ำทิ้งเหมือนเดิมอีกทุกๆ 3-4 ชั่วโมง แล้วเก็บไว้ในที่มืดตามเดิม
          5. อดใจรอประมาณ 3 วัน ก็สามารถนำถั่วงอกไปกินได้

เพาะถั่วงอกในถังพลาสติกแบบตัดราก
อุปกรณ์
          1.  ถั่วพลาสติกสีดำ เจาะรูที่ก้นถังหลายๆรู เพื่อระบายน้ำ และเจาะรูที่ด้านข้าง เป็นระยะๆ เพื่อระบายอากาศ         
          2.  กระสอบป่านตัดเป็นวงกลมขนาดเท่าปากถัง 4 ชิ้น
          3.  ตะแกรงไนล่อนตาถี่รูขนาดเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียว ตัดเป็นวงกลมขนาดเท่าปากถัง 3 แผ่น
          4.  ถั่วเขียว ½ กิโลกรัม ต่อการเพาะ 1 ถัง
วิธีทำ
          1.  แช่เมล็ดถั่วเขียวในน้ำอุ่น และแช่ทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมง คัดเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้งไป
          2. นำกระสอบวางลงไปในถัง และวางตะแกรงไนล่อนทับ
          3. โรยเมล็ดถั่วลงไปบนตะแกรงไนล่อน เกลี่ยให้กระจายทั่วแผ่น ให้เมล็ดถั่วซ้อนกันประมาณ 3-4 เมล็ด อย่าให้แน่นมากจนเกินไปกว่านี้
          4. นำผ้ากระสอบมาวางทับเมล็ดถั่วเขียวชั้นที่ 1 แล้วนำตะแกรงไนล่อนวางทับผ้ากระสอบ โรยถั่วลงไป ทำให้ครบ 3 ชั้น แล้วปิดด้านบนด้วยผ้ากระสอบอีกครั้ง
          5. รดน้ำให้ชุ่มทุก 3 ชั่วโมง โดยรดน้ำจนน้ำไหลออกมาที่บริเวณก้นถัง เพื่อเป็นการช่วยระบายความร้อน นำไปไว้ในที่ร่ม

          6.  รอประมาณ 3 วัน ก็สามารถหยิบถั่วงอกแต่ละชั้นขึ้นมา ปาดที่โคนต้นถั่วงอกซึ่งอยู่ติดกับตะแกรงไนล่อน ก็จะได้ถั่วงอกไร้รากไปกินแล้วค่ะ ขอบอกว่าใช้ถั่วแค่ ½ กิโลกรัม แต่จะได้ถั่วงอกถึง 2-3 กิโลกรัม

1 ความคิดเห็น: